วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Organic Chemistry 1

1. ประวัติและความสำคัญของวิชาเคมีอินทรีย์


 Friedrick Wohler
          
               วิชานี้ ว่าด้วยเรื่องของสารประกอบคาร์บอน ซึ่งพบในธรรมชาติและเป็นส่วนประกอบสำคัญในสิ่งมีชีวิต และยังมีสารอินทรีย์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากมาย
          ในสมัยก่อน นักเคมียังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับวิชาเคมีอินทรีย์มากนัก จนกระทั่ง Friedrick Wohler นักเคมีชาวเยอรมัน ได้สังเคราะห์ยูเรีย ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ขึ้นจากสารอนินทรีย์ได้สำเร็จ ต่อมา Kekule, Couper และ M. Butlerov ได้เสนอขึ้นว่า ธาตุคาร์บอนสามารถสร้างพันธะได้ 4 พันธะ และยังสามารถสร้างพันธะด้วยกันเองได้ด้วย
           ปัจจุบันวิชาเคมีอินทรีย์นั้นยังมีความแพร่หลายและก้าวหน้ามาสาขาหนึ่งแม้ว่าจะเป็นสาขาที่ใหม่ที่สุดเนื่องจากในชีวิตประจำวันของเรานั้นสิ่งที่พบเห็นล้วนเกี่ยวข้องกับเคมีอินทรีย์ทั้งสิ้น


2. พันธะเคมี

               2.1 ทฤษฎีพันธะ
               พันธะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพันธะของคาร์บอนนั้นคือ พันธะโคเวเลนต์ ซึ่งธาตุคาร์บอนนั้น มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน เป็น 1s2 2s2 2px1 2py1 2pz0 โดยจะมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเพียง 2 ตัวเท่านั้น ซึ่งน่าจะสร้างพันธะได้สองพันธะ แต่ในความเป็นจริงกลับสร้างได้ถึงสี่พันธะ เราจะใช้ทฤษฎีพันธะเวเลนต์ ในการอธิบายปรากฎการณ์นี้
               
               
               ทฤษฎีพันธะเวเลนต์ กล่าวว่า ก่อนที่คาร์บอน จะเกิดการสร้างพันธะนั้น ได้มีการผสมกันของอิเล็กตรอนใน 2s และ 2p ก่อน เรียกการผสมนี้ว่า Hybridization ซึ่งมีด้วยกัน 3 รูปแบบได้แก่
                    


1. Hybridization แบบ sp3 เป็นการผสมกันของอิเล็กตรอนใน 2s 1 ออร์บิทัล กับอิเล็กตรอนใน 2p จำนวน 3 ออร์บิทัล โดนหลักการนี้ทำให้เราสามารถอธิบายได้ว่าทำไม่ คาร์บอน จึงมีสี่แขน และทำให้สามารถสร้างพันธะกับไฮโดรเจนทำให้ มีลักษณะโครงสร้างเป็นทรงสี่หน้า ซึ่งจะเกิดพันธะระหว่าง C-H ที่เรียกว่าพันธะซิกมา และเรียกอิเล็กตรอนที่ใช้สร้างว่า อิเล็กตรอนซิกมา





       
 2. Hybridization แบบ sp2 เป็นการผสมกันของอิเล็กตรอนใน 2s 1 ออร์บิทัล กับอิเล็กตรอนใน 2p จำนวน 2 ออร์บิทัล สร้างพันธะกับไฮโดรเจ มีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบสามหลี่ยมแบนราบ จากการรวมกันแบบนี้ จะเหลือออร์บิทัล 2p อยู่อีก 1 ออร์บิทัลซึ่งจะไม่สร้างพันธะกับไฮโดรเจนได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างพันธะกับคาร์บอนที่มีออร์บิทอล 2p เหลืออยู่เหมือนกันการที่ C-C อีกโมเลกุลทำให้เกิดการสร้างพันธะที่เรียกว่า พันธะไพ เรียกอิเล็กตรอนที่ใช้ในการสร้างว่า อิเล็กตรอนไพ ส่วนอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่ได้รับการผสม จะสร้างพันธะซิกมากัน


          

      Hybridization  sp3                           
Hybridization  sp2                                                                         
 เกิดพันธะเดี่ยวที่ C-H เรียก พันธะซิกมา    เกิดพันธะที่ C-C (sp2) เรียก พันธะซิกมา

                                                                      เกิดพันธะที่ C-C (pz) เรียก พันธะไพ   
                        
                               

   


วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่องที่ 7 : pH pOH

สารละลายในน้ำไม่ว่าจะเป็นกรด เบส หรือกลางย่อมประกอบด้วย H3Oและ OH- เสมอโดยมีผลคูณของไอออนทั้งสองเท่ากับ 10-14 ดังนั้นถ้าทราบ [H3O+หรือ [H+เพียงอย่างเดียวก็สามารถบอกได้ว่าสารละลายเป็นกรด เบส หรือเป็นกลาง เนื่องจาก [ H3O+ในสารละลายมีค่าน้อยและเปลี่ยนแปลงในช่วงกว้าง จาก 1 mol dm-3 (1 M HCI ) ถึง10-14 mol dm-3 (1 M NaOH) การเขียนความเข้มข้นด้วยเลขยกกำลังที่ติดลบย่อยไม่สะดวกและผิดพลาดได้ง่าย ซอเรนเสน (Sorensen) จึงเสนอแนะให้ใช้มาตราส่วนใหม่ที่สะดวกกว่าซึ่งเรียกว่า มาตราส่วนpH (pH scale)


โดยนิยามจากการพิสูจน์จาก  Kw = [H3O+][ OH-ว่า

pH = - log [ H+หรือ 
H+] = 10-pH



สรุป        สารละลายกรดมีpH < 7 และ สารละลายเบสมีpH > 7
               ส่วนสารละลายที่เป็นกลางจะมีpH เท่ากับ 7
และ
pOH = - log [OH-]

[H3O+] = [OH-] = 10-นั่นคือ 

pH = pOH = 7 
และ 
pH + pOH = 14

เรื่องที่ 6 : การแตกตัวของกรด-เบส

1.การแตกตัวของกรดแก่-เบสแก่


กรดแก่-เบสแก่จะมีสามารถในการละลายน้ำให้สารละลายที่มีไอออนได้มากมีความแรงของกรดหรือเบสสูง 
ในทางการคำนวณถือว่ากรดแก่และเบสแก่แตกตัวได้ 100% ดังนั้นในการแตกตัวของกรดแก่และเบสแก่
***มีแต่เฉพาะปฏิกิริยาไปข้างหน้าจีงไม่เกิดสมดุลขี้น เช่น
HCl+ + Cl-
HNO 3 ++ NO3-
NaOH Na+ + OH-
KOH + + OH-




2.การแตกตัวของกรดอ่อน-เบสอ่อน
กรดอ่อน-เบสอ่อนเมื่อละลายน้ำจะมีการละลายแตกตัวให้ไอออนในสารละลายได้น้อยคง
เหลือโมเลกุลของกรดอ่อนหรือเบสอ่อนอยู่มาก เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ คือเกิดสมดุลขึ้นจึงสามารถหาค่าคงที่สมดุลของกรดอ่อน(Ka)หรือค่าคงที่สมดุลของ
เบสอ่อน(Kb)ได้นอกจากนี้ค่าคงที่ดังกล่าวยังสามารถบอกความแรงของกรดหรือเบสได้อีกด้วย
-ถ้า Ka ,Kb มากแสดงว่ากรดอ่อนหรือเบสอ่อนนั้นมีความแรงมาก
-
ถ้าKa ,Kb น้อยแสดงว่ากรดอ่อนหรือเบสอ่อนนั้นมีความแรงน้อย

HA +H2O =H+ + A-Ka = [ H+][ A-]/[ HA]
BOH + H
2O= B+ + OH-
Kb = [ B
+][ OH-]/[ BOH]-ในกรณี Monoprotic Acid (HA)HA + H2O=H3O+ + A-
Ka = [H
3O+ ][ A-]/[ HA]

3.การแตกตัวของน้ำ

น้ำจัดเป็นอิเล็กโทรไลต์ที่อ่อนมากจึงแตกตัวออกเป็นไอออน
ได้น้อยดังสมการ
2 H2O =H3O++ OH-
K = [H
3O+][ OH-]/[ H2O]2เนื่องจากน้ำแตกตัวได้น้อยมาก ดังนั้นความเข้มข้นของน้ำไม่เปลี่ยนแปลง
โดย[H2O]บริสุทธิ์=55.56 mol/dm3
จาก K[H2O]2 = [H 3 O+][OH-]
จะได้ kw =[H3O+][ OH-]
ที่อุณหภูมิ 250 c kw = 1.0x10-14





เรื่องที่ 5 : คู่กรด-เบส

สารที่เป็นคู่กรด-เบสกัน H+ ต่างกัน 1 ตัว โดยที่ คู่กรดจะมี H+ มากกว่าคู่เบส 1 ตัว

ในปฏิกิริยาที่ผันกลับได้จะมีปฏิกิริยาย่อย 2 ชนิด คือ ปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับซึ่งในสารละลายกรดและสารละลายเบสจะมีสารที่เรียกว่าคู่กรด-เบสเสมอไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาใดโดยพิจารณาจากทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี เช่น
H2เป็นคู่กรดของเบสOH-
NH3 เป็นคู่เบสของกรด NH4+
           CH3COOH เป็นคู่กรดของเบสCH3COO-
H2เป็นคู่เบสของกรด H3O+

เรื่องที่ 4 : ชนิด กรด-เบส

ชนิดของกรด
1.กรด Monoprotic แตกตัว 1 ได้แก่ HNO3 , HClO, HClO4 , HCN
2.กรด Diprotic แตกตัว 2 ได้แก่ H2SO4 , H2CO3
3.กรด Polyprotic แตกตัว 3 ได้แก่ H3PO4
การแตกตัวของกรด Polyprotic แต่ละครั้งจะให้ H+ ไม่เท่ากัน แตกครั้งแรกจะแตกได้ดีมาก ค่า Ka สูงมากแต่แตกครั้งต่อ ๆ ไปจะมีค่า Ka ต่ำมาก เพราะประจุลบในไอออนดึงดูด H+ ไว้ดังสมการ
H2SOH+ + HSO4- Ka1 = 1011
HSO4- H+ + SO42- Ka2 = 1.2 x 10-2
เนื่องมาจากกรด Polyprotic มักมีค่า K1>>K2>>K3 H+ ในสารละลายส่วนใหญ่จะได้มาจากการแตกตัวครั้งแรก
ถ้าค่า K1 มากกว่า K2 =103 เท่าขึ้นไปจะพิจารณาค่า pH ของสารละลายกรด Polyprotic ได้จากค่า K1 เท่านั้น แต่ถ้าค่า K2 มีค่าไม่ต่ำมาก จะต้องนำค่า K2 มาพิจารณาด้วย
ชนิดของเบส
เบส แบ่งตาม จำนวน OH- ในเบส แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.เบสที่มี OH- ตัวเดียว เช่น LiOH NaOH KOH RbOH CsOH
2.เบสที่มี OH- 2 ตัว เช่น Ca(OH)2 Sr(OH)2 Ba(OH)2
3.เบสที่มี OH- 3 ตัว เช่น Al(OH)Fe(OH)3

เรื่องที่ 3 : ทฤษฏี กรด-เบส

1.ทฤษฏีของอาเรเนียส - กรด คือ สารประกอบที่มี และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ H+ หรือ H3O+
                                 เบส คือ สารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH-
** ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คือ สารประกอบต้องละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมสารประกอบบางชนิดเช่น NH3 จึงเป็นเบส

2.ทฤษฏีของลาวรี - กรด คือ สารที่สามารถให้โปรตอน (proton donor) แก่สารอื่น
                           เบส คือ สารที่สามารถรับโปรตอน (proton acceptor) จากสารอื่น
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจึงเป็นการถ่ายเทโปรตอนจากกรดไปยังเบสเช่นแอมโมเนียละลายในน้ำ
   NH3(aq) + H2O(1) <=> NH4+ (aq) + OH- (aq)
base 2 ........acid 1 ........   acid 2 ........base 1
**ในปฏิกิริยาไปข้างหน้า NH3 จะเป็นฝ่ายรับโปรตอนจาก H2ดังนั้น NH3 จึงเป็นเบสและ H2เป็นกรด แต่ในปฏิกิริยาย้อนกลับ NH4จะเป็นฝ่ายให้โปรตอนแก่ OH- ดังนั้น NH4+จึงเป็นกรดและ OH- เป็นเบส อาจสรุปได้ว่าทิศทางของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับความแรงของเบส

3.ทฤษฏีของลิวอิส - กรด คือ สารที่สามารถรับอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (electron pair acceptor) 

                                  เบส คือ สารที่สามารถให้อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (electron pair donor) 

**ทฤษฎีนี้ใช้อธิบาย กรด เบส ตาม concept ของ Arrhenius และ Bronsted-Lowry ได้ และมีข้อได้เปรียบคือสามารถอธิบาย กรด เบส ในกรณีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และได้สารประกอบที่มีพันธะโคเวเลนซ์ เช่น

OH - (aq) + CO(aq) HCO3- (aq)

BF3 + NH3 BF3-NH3

เรื่องที่ 2 : สมดุลเคมี

- Mind Map ยังไม่เสร็จนะจ๊ะ -