วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่องที่ 3 : ทฤษฏี กรด-เบส

1.ทฤษฏีของอาเรเนียส - กรด คือ สารประกอบที่มี และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ H+ หรือ H3O+
                                 เบส คือ สารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH-
** ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คือ สารประกอบต้องละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมสารประกอบบางชนิดเช่น NH3 จึงเป็นเบส

2.ทฤษฏีของลาวรี - กรด คือ สารที่สามารถให้โปรตอน (proton donor) แก่สารอื่น
                           เบส คือ สารที่สามารถรับโปรตอน (proton acceptor) จากสารอื่น
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจึงเป็นการถ่ายเทโปรตอนจากกรดไปยังเบสเช่นแอมโมเนียละลายในน้ำ
   NH3(aq) + H2O(1) <=> NH4+ (aq) + OH- (aq)
base 2 ........acid 1 ........   acid 2 ........base 1
**ในปฏิกิริยาไปข้างหน้า NH3 จะเป็นฝ่ายรับโปรตอนจาก H2ดังนั้น NH3 จึงเป็นเบสและ H2เป็นกรด แต่ในปฏิกิริยาย้อนกลับ NH4จะเป็นฝ่ายให้โปรตอนแก่ OH- ดังนั้น NH4+จึงเป็นกรดและ OH- เป็นเบส อาจสรุปได้ว่าทิศทางของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับความแรงของเบส

3.ทฤษฏีของลิวอิส - กรด คือ สารที่สามารถรับอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (electron pair acceptor) 

                                  เบส คือ สารที่สามารถให้อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (electron pair donor) 

**ทฤษฎีนี้ใช้อธิบาย กรด เบส ตาม concept ของ Arrhenius และ Bronsted-Lowry ได้ และมีข้อได้เปรียบคือสามารถอธิบาย กรด เบส ในกรณีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และได้สารประกอบที่มีพันธะโคเวเลนซ์ เช่น

OH - (aq) + CO(aq) HCO3- (aq)

BF3 + NH3 BF3-NH3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น