1. บทนำ
อัลเคนเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n+2สำหรับอัลเคนที่เป็นโซ่เปิด และ CnH2nสำหรับ
อัลเคนที่เป็นโซ่ปิด
(อัลคิล:Alkyl: R อัลเคนที่เอาHออก1อะตอม เป็นแขนว่างไว้สำหรับเชื่อมพันธะกับสารอื่นๆ)
2. การเรียกชื่อ
การเรียกชื่อสารประกอบอัลเคนนั้น จะเรียกได้2ประเภทคือ ชื่อสามัญและชื่อ IUPAC ซึ่งชื่อIUPACนั้นจะเป็นชื่อที่ยอมรับกันทั่วไป
ก่อนอื่นต้องรู้จักชื่อบ่งบอกจำนวนคาร์บอนในแต่ละโมเลกุลก่อน
C-1 = Meth-
C-2 = Eth-
C-3 = Prop-
C-4 = But-
C-5 = Pent-
C-6 = Hex-
C-7 = Hept-
C-8 = Oct-
C-9 = Non-
C-10= Dec-
2.1 ชื่อสามัญ
normal pentane
isopentane
neopentane
2.2 การเรียกชื่อหมู่อัลคิล
ข้อตกลง : 1. คำนำหน้า n- ย่อมาจาก normal คือหมู่อัลคิลที่เป็นโซ่ตรง
2. คำนำหน้า iso- ใช้กับหมู่อัลคิลที่มีmethylเกาะอยู่ที่คาร์บอนตัวรองสุดท้าย นับจากปลายที่ห่าง
จากปลายที่จะไปเชื่อมกับโซ่หลัก
3. คำนำหน้า sec- ย่อมาจาก secondary ใช้กับหมู่อัลคิลที่มีจุดต่อ ณ ตำแหน่งที่เป็นคาร์บอนทุติยภูมิ
4. คำนำหน้า tert- ย่อมาจาก tertiary ใช้กับหมู่อัลคิลที่มีจุดต่อ ณ ตำแหน่งที่เป็นคาร์บอนตติยภูมิ
2.3 การเรียกชื่อ IUPAC
1. นับจำนวนคาร์บอนที่ติดต่อกันยาวที่สุดเป็นโซ่หลัก ที่เหลือเป็นหมู่อัลคิล
2. ตำแหน่งโซ่หลักเริ่มต้นจากด้านที่หมู่อัลคิลมาเกาะก่อน
3. บอกตำแหน่งพร้อมชื่อหมู่อัลคิลที่มาเกาะหน้าชื่อโซ่หลัก โดยระหว่างเลขกับเลขใช้เครื่องหมาย , ส่วนเลขกับอักษรใช้เครื่องหมาย -
4. เมื่อมีหมู่อัลคิลมาเกาะที่โซ่หลักมากกว่า1หมู่ ให้เรียกชื่อโดยเรียงลำดับอักษรภาษาอังกฤษ
เพิ่มเติม : mono , di , tri , ... ไม่นับเรียงอักษร
sec-,tret-,n-,... ไม่นับเรียงอักษร
iso-,neo-,cyclo- นับเรียงอักษร
5. ถ้ามีหมู่อัลคิลมาเกาะมากกว่า1หมู่ ที่คาร์บอนอะตอมเดียวกัน ให้บอกลำดับเลขนั้นซ้ำ
6. เมื่อมีอัลคิลชนิดเดียวกันมาเกาะที่โซ่หลักเดียกันให้ใช้คำนำหน้าว่า di.tri.tetra บอกจำนวนที่หมู่อัลคิลเหมือนกัน
7. ในกรณีที่โซ่หลักเลือกได้มากกว่า1ทาง ซึ่งมีจำนวนคาร์บอนเท่ากัน ให้เลือกโซ่หลักที่มีหมู่อัลคิลมาเกาะมากที่สุด
8. ในกรณีที่หมู่อัลคิลห่างจากปลายโซ่เท่าๆกัน ให้เลือกตำแหน่งที่มีผลรวมของเลขทั้งหมดน้อยที่สุึด
9. ถ้าหากมีหมู่ฮาโลเจนมาเกาะ ให้เรียกหมู่ฮาโลเจนนั้นก่อน
ตัวอย่าง
อ่านชื่อว่า 2,2,4 - trimethypentane
3. สมบัติทางกายภาพ
อัลเคนเป็นสารประกอบที่ไม่มีขั้ว ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงลอนดอน
ที่อุญหภูมิห้อง และ ความดัน1บรรยากาศ
C1-C4เป็นก๊าซ
C5-C17เป็นของเหลว
C18-ขึ้นไปเป็นของแข็ง
3.1 จุดเดือดและจุดหลอมเหลว : 1. จุดเดือดและจุดหลอมเหลวขึ้นตามมวลโมเลกุล
2. ถ้ามีมวลโมเลกุลเท่ากัน จะดูที่โครงสร้างโดยที่จุดเดือดจุดหลอมเหลว
ของอัลเคนโซ่ตรงจะมากกว่าจุดเดือดจุดหลอมเหลวของอัลเคนโซ่กิ่ง
3.2 ความหนาแน่น : อัลเคนทุกตัวมีความหนานแน่นน้อยที่สุดในจำพวกโมเลกุลสารอินทรีย์ ทำให้ลอยน้ำได้
3.3 การละลาย : อัลเคนไม่ละลายน้ำ เพราะเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว อัลเคนที่เป็นของเหลวจะละลายด้วยกันเอง
ตัวทำละลายส่วนใหญ่คือ Benzene , CCl4เป็นต้น
4. การเตรียมสารประกอบอัลเคน
4.1 Hydrogenation of Alkenes or Alkynes
4.2 Hydrogenation of Alkylhalides
5. ปฏิกิริยาของสารประกอบอัลเคน
5.1 Halogenation of Alkanes(ปฏิกิริยาฟอกจางสี) : แทนที่Hด้วยหมู่7
5.2 Combustion reaction : การสันดาป(ระเบิดด้วยออกซิเจน)
R-H + O2มากเกินพอ -----> CO2 + H2O
R-H + O2 ไม่พอ -----> CO + H2O + CO2 + C
6.สารประกอบไซโคลอัลเคน
6.1 การเรียกชื่อ
ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับโซ่ตรงแต่ต้องมีคำว่า Cyclo นำหน้าโซ่หลัก (หากมีโซ่ตรงยาวกว่าโซ่ปิด โซ่ปิดจะกลายเป็นกิ่ง) ส่วนการนับกิ่งถ้ามีเพียงกิ่งเดียว ไม่ต้องมีเลข 1 หน้าหมู่อัลคิลเพราะจะเป็นที่รู้ว่ากันว่าเป็นตำแหน่งที่ 1 การให้ตำแหน่งหมู่อัลคิลนั้น จะให้ตำแหน่งโดยผลรวมของตำแหน่งต้องน้อยที่สุด
ตัวอย่าง
6.2 ปฎิกิริยาของสารประกอบไซโคลอัลเคน
ในวงขนาดเล็ก เช่น cyclopropane จะมีความเครียดภายในสูง สามารถเกิดปฎิกิริยาได้โดยการแตกวง แต่หากวงใหญ่ขึ้น ความเครียดภายในลดลง การเกิดปฎิกิริยาจึงเป็นไปได้ยากกว่า การเกิดปฎิกิริยาแบบแทนที่ โดยใช้พลังงานความร้อนหรือแสงเป็นตัวเร่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น